เด็กย่อมมีอารมณ์ฉุนเฉียวบ้างเป็นเรื่องปกติ บางครั้งเขาก็ตีอกชกลมเมื่อรู้สึกผิดหวัง หรือถูกบังคับให้ในสิ่งที่ไม่ต้องการ ไปจนถึงจู่ๆ บางวันก็อารมณ์เสียขึ้นมาเฉยๆ ซึ่งเราเริ่มรู้สึกว่าลูก อารมณ์ร้าย
ผู้ปกครองส่วนใหญ่อาจตกใจกับลูก อารมณ์ร้าย ฉุนเฉียว หรือพฤติกรรมโกรธเกี้ยวของเด็ก และสงสัยว่า ลูกเราผิดปกติหรือเปล่า?
ถ้าลูก อารมณ์ร้าย โกรธง่าย หรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้บ่อยๆ ให้รู้ไว้เลยว่า ความโกรธเกิดจากอารมณ์เป็นตัวนำพา เมื่อเด็กอารมณ์เสียเค้าก็รู้สึกโกรธเป็นเรื่องปกติ เค้าอาจะทะเลาะกับเพื่อนร่วมชั้นที่โรงเรียนมาแล้วรู้สึกแย่กับมันจนเอามาพาลกับคนรอบข้างไปบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
เมื่อเด็กรู้สึกโกรธ เขาไม่ควรถูกลงโทษ แต่ควรได้รับความช่วยเหลือแทน เรามาทำความเข้าใจว่าลูกกำลังสื่อสารบางอย่างกับเราผ่านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เด็กที่เก็บกดคือเด็กที่มีความทุกข์อยู่ในใจ ซึ่งเขายังไม่มีทักษะในการจัดการความรู้สึกของตนเอง และควบคุมการแสดงออกในขณะที่กำลังโกรธอยู่ สังเกต และลองพูดคุยว่าลูกมีเรื่องอะไรที่ทำให้หงุดหงิดหรือโกรธใครมา เพื่อรู้ต้นตอปัญหา นี่ขั้นแรกในการช่วยให้พวกเขาจัดการกับความโกรธของตัวเองได้
มีหลายปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของความโกรธและความหงุดหงิด สิ่งกระตุ้นที่พบบ่อยอย่างหนึ่งคือ เด็กจะหงุดหงิด เมื่อไม่สามารถได้สิ่งที่ต้องการ หรือรู้สึก วิตกกังวลอะไรบางอย่าง เด็กที่อยู่ในภาวะวิตกกังวลจะรู้สึกกดดัน และสูญเสียการควบคุม
อย่าลืมว่า ความเหนื่อยล้า เพราะเด็กก็มีตารางชีวิตที่ยุ่งเหยิงได้ เช่น ชั่วโมงเรียนที่ยาวนาน หรือกิจกรรมนอกหลักสูตรทำให้เด็กๆ มีเวลาเล่น เวลาผ่อนคลายน้อยลง แต่อย่างที่ทราบกันดีว่า การเล่นทำให้เด็กๆ คลายความเครียดและช่วยส่งเสริมการควบคุมตนเอง เมื่อเด็กไม่มีเวลาคลายเครียด เด็กๆ จึงแสดงความคับข้องใจด้วยความโกรธ
เมื่อรู้สึกไร้อำนาจ เด็กจะแสดงออกมาด้วยการโกรธ เพราะมันเป็นวิธีปลดปล่อยง่ายที่สุดสำหรับเขา
ในฐานะครอบครัว เราทุกคนต้องเรียนรู้วิธีในการจัดการความรู้สึกของความคับข้องใจ ซึ่งจะช่วยให้เด็กและผู้ปกครองลดความขัดแย้งต่อกันลงได้
เราต้องสงบสติอารมณ์เมื่อลูกโกรธ ความสงบนิ่งของเราแม้ในขณะที่เด็กโกรธอยู่ จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย ความรู้สึกนี้คือสิ่งที่ช่วยให้เขาพัฒนาวิถีประสาทในสมองและปิดปฏิกิริยา \”สู้หรือหนี\” (กลไกของระบบประสาทเป็นปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อตกอยู่ในอันตราย) เพื่อสงบสติอารมณ์ลง
การจัดการเวลาที่ลูกอารมณ์เสียง่าย แทนที่จะให้เขาเข้ามุมหรือกักบริเวณ ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจว่าเขาต้องอยู่ตามลำพังกับความรู้สึกที่น่ากลัวเหล่านี้ เราควรมอบความสงบและปรนนิบัติลูกดีๆ ความสนใจของผู้ปกครองจะช่วยระงับการปะทุที่อาจเกิดขึ้น เสริมด้วยภาษากายเชิงบวกผ่านการกอดเขาไว้แน่นๆ เพราะเด็กๆ ต้องการงความอบอุ่นและความใกล้ชิด เมื่อเขารู้สึกไม่มั่นใจ สับสน หรือประหม่า
หากการกอดไม่ได้ผล เราสามารถช่วยให้เขาแสดงความโกรธผ่านการเคลื่อนไหวร่างกายได้ แต่งเพลงและแสดง “ท่าเต้นระบายความโกรธ” ไปกับลูก สำหรับเด็กเล็ก การให้ของเล่นลากจูงก็ทำให้เขาจดจ่ออยู่กับการเดินกับเพื่อนช่วยเดินของเขา เป็นประโยชน์ต่อปล่อยวางความโกรธได้ทีละน้อยทีละน้อย
จากนั้นก็ จับเข่าคุยกัน ในฐานะผู้ปกครอง คุณควรส่งเสริมให้เด็กพูดความรู้สึกของตนเอง ในหัวข้อ “รู้สึกอย่างไรเมื่อเกิดสิ่งนี้ขึ้น” การพูดคุยถึงประเด็นนี้จะช่วยให้เด็กๆ จัดการกับความโกรธและสงบสติอารมณ์ของตัวเองได้ ถ้าลูกไม่อยากคุยกับเราตรงๆ ลองให้เขาพูดกับสัตว์เลี้ยง ตุ๊กตาตัวโปรก หรือเพื่อนในจินตนาการก็ได้ เขาอาจจะรู้สึกสบายใจมากกว่า เราปล่อยให้เขาคุยเล่นตามลำพัง แต่ในขณะเดียวกันเราก็แอบสังเกตมองสถานการณ์บ้าง
ใช้บทบาทสมมติเพื่อแสดงความรู้สึก การแสดงบทบาทสมมติช่วยได้เสมอ เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการบทบาทที่รับแสดงออกเป็นคนอื่น และกระทำเช่นนี้จะทำให้เด็กเห็นอกเห็นใจบทบาทที่แสดงเป็นและแสดงออกมาอย่างที่บทบาทนั้นควรจะทำ สิ่งนี้ไม่ใช่การหลบหนีจากโลกแห่งความเป็นจริง การเล่นหรือแสดงบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่สำคัญมากในการพัฒนาเด็ก เพราะช่วยให้เขาพัฒนาทักษะความเห็นอกเห็นใจและจินตนาการ นั่นทำให้เขาเรียนรู้ที่จะควบคุมพฤติกรรมของตัวเองด้วยเช่นกัน
ในระหว่างการแสดงบทบาทสมมติ เด็กๆ มักเรียนรู้วิธีแสดงความรู้สึกของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ เขามักจะเผลอเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเองมาผสมกับบทบาทที่เล่น ดังนั้นเป็นโอกาสอันดีคุณผู้ปกครองทั้งหลายต้องจัดสถานการณ์สมมติขึ้นมาบ้างเพื่อใช้สอดแทรกวิธีจัดการการรับรู้และความรู้สึกลูก
ตัวอย่างเช่น คุณสามารถตั้งหัวข้อง่ายๆ ว่า “ลองเล่นทำเป็นว่าลูกโกรธ เมื่อขอไปเล่นกับเพื่อนแล้วแม่ไม่ให้ไป” หรือ “ลองเล่นทำเป็นว่า ลูกขอออกไปข้างนอกและแม่ไม่ให้ไป\” วิธีนี้จะทำให้เขาคาดเดาสิ่งที่อาจเกิดขึ้น และเตรียมใจรับมือหากต้องถูกปฏิเสธหรือเกิดความผิดหวัง
การใช้บทบาทสมมติเพื่อจัดการความรู้สึก มีโอกาสได้ผลหากลูกเคยชินกับมัน ดังนั้นเราควรส่งเสริมการเล่นบทบาทสมมติระหว่างเวลาเล่นของลูก โดยมอบของเล่นเสริมบทบาทสมมติที่เหมาะสมเขาและจูงใจให้เล่นและสนุกไปกับมัน
บทบาทสมมติเป็นไอเท็มสารพัดประโยชน์ของผู้ปกครอง ให้เริ่มต้นด้วยเวลาเล่นตามบทบาทง่ายๆ แถมยังเสริมพัฒนาการได้หลากหลายอีกด้วย
หากคุณกำลังมองหาของเล่นเสริมพัฒนาการชั้นเยี่ยมซักชิ้น ‘Hape’ (ฮาเป้) คือตัวเลือกที่ดี เพราะเรามีของเล่นไม้มากมาย ที่ตอบโจทย์พัฒนาการของเด็กทุกช่วงวัย
ด้วยดีไซน์และวัสดุของที่มีความคงทนแข็งแรง เน้นเสริมสร้างพัฒนาการแก่เด็กๆ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ Hape ขึ้นเป็นแบรนด์ของเล่นไม้ระดับโลก และได้รับรางวัล Best Toys Award ติดต่อกันหลายปี การันตีได้จากมาตรฐาน ICTI, CCIB , ISO 14001 และ ISO 9001-2008v
ดังนั้นไม่ยากเลยที่ของเล่นไม้ฮาเป้จะช่วยเติมเต็มกิจกรรมต่างๆ นี้ที่ทำให้หนูๆ ห่างไกลจากหน้าจอ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการแบ่งปันช่วงเวลาดีๆ ร่วมกันในครอบครัว เพราะที่ใดมีความรัก ที่นั่นคือบ้านที่สมบูรณ์! กิจกรรมที่คุณกับลูกคืออะไรค้า? 😁
Hape Thailand
Love Play Learn
🌐: ดูสินค้าทั้งหมด https://www.abcthebaby.com/hape-brand-page
ติดตามข่าวสาร และโปรโมชั่นดีๆ FB : Hape Thailand