ลูกติดหน้าจอ หนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยที่สุดของผู้ปกครองในปัจจุบัน ในขณะที่เราได้เห็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ผู้ปกครองบางส่วนได้ตระหนักว่า อาจเป็นอันตรายได้
การที่เด็กเสพติดหน้าจอ ก่อให้เกิดผลกระทบที่มากมาย แต่ไม่ต้องห่วง มีทางแก้ที่เรียกว่า การเล่น! ไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้ ที่จะทำให้เด็กๆ เลี่ยงการอยู่แต่กับหน้าจอได้นะ
เด็กในโลกยุคดิจิทัล
เด็กๆ ยุคนี้เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี เขาจำเป็นต้องรู้จัก และใช้เครื่องมือดิจิทัลในชีวิตมากกว่าเด็กในยุคก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าการใช้งานเทคโนโลยีไปทุกอย่างในชีวิตประจำวันจะเป็นเรื่องดี

ผู้ปกครองของเด็กเล็กส่วนใหญ่จะเข้าใจสถานการณ์นี้ดี เพราะหากเมื่อลูกไม่ได้เล่นมือถือหรือแท็บเล็ต เด็กจะโมโห และพยายามจะเอาคืนจากพ่อแม่ที่ยึดไป
มาดูสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองของเด็กในขณะที่ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเช่นมือถือหรือแท็บเล็ตกันดีกว่า
การทำกิจกรรมที่เราพึงพอใจ ทำให้เกิดการหลั่งโดปามีน (ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณไปยังเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้า) อันเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน ซึ่งสิ่งที่หลั่งมาคือ \”เธอจะได้มากกว่านั้น\” สี เสียง และการเคลื่อนไหวทำให้โลกดิจิทัลน่าดื่มด่ำมากกว่าโลกแห่งความเป็นจริง ยิ่งกว่านั้นการโต้ตอบกับหน้าจอที่มีความรวดเร็ว ค่อนข้างสอดรับกับความต้องการในการเล่น เมื่อผู้ปกครองบอกว่าหยุดใช้หน้าจอ ระดับโดปามีนจะลดลง และเด็กๆ ไม่รู้ว่าจะจัดการกับการถูกขัดใจยังไง จากผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ผู้ปกครองเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่า การให้ลูกหยุดดูหน้าจอ จะลงเอยด้วยทะเลาะกันทุกครั้ง
สังเกต และให้ความสนใจกับพฤติกรรมของเด็กๆ ให้มาก
ตัวอย่างเช่น สมัยก่อนเวลาดูทีวีจะเป็นสิ่งเดียวที่ดึงดูดเด็กๆ ไว้หน้าจออย่างใจจดใจจ่อจนไม่ทำอย่างอื่น ส่วนในยุคนี้มากไปกว่านั้น หากลูกน้อยเริ่มกังวลแล้วว่าวิดีโอที่ YouTuber ที่เขาชื่นชอบจะโพสต์คลิปอะไรครั้งหน้า แสดงว่าดิจิทัลครอบงำความคิดของเด็กได้แม้ว่าอุปกรณ์นั้นปิดอยู่ด้วยซ้ำ หรือถ้าลูกเริ่มติดดู TV เรายังเห็นได้ว่าลูกนั่งหน้า TV ตลอด ยังสะกิดเตือนให้เค้าทำอะไรอย่างอื่นได้ แต่กับโลกดิจิทัล เราไม่สามาารถรู้ได้เลยว่ามันกำลังทำงานยังไงกับสมองของเด็กอยู่
อาจพูดได้ว่าเทคโนโลยีสามารถทำให้คนเชื่องช้าลง ขี้เกียจขึ้น จนกระทบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมในครอบครัวและในหมู่เพื่อน ที่จริงแล้ว เด็กๆ ยังอยากใช้หน้าจอแม้ว่าจะอยู่กับครอบครัว หรือเพื่อนฝูงจะมาหาก็ตาม
วิธีการจัดการกับ เทคโนโลยีที่มากเกินไป (technology overuse)
ต้องทำอะไรบางอย่างกับการที่ #ลูกติดหน้าจอ
เด็กจะทำกิจวัตรที่ชัดเจน ดังนั้นคุณต้องตั้งกฎที่ให้เขาทำอย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดเวลาที่ลูกจะดูทีวีหรือ YouTube ในแต่ละวัน จากนั้น เมื่อหมดเวลาหน้าจอให้เขาทำอะไรที่สนุกสนาน เช่น ออกไปเดินเล่น หรือขี่จักรยาน มันจะเป็นวิธีที่ทำให้เขาไม่มาจดจ่อกับหน้าจอ
เมื่อกลับถึงบ้าน ความงอแงที่อยากเล่นมือถือ หรือแท็บเล็ตจะเริ่มขึ้นอีกครั้ง ทีนีเราลองใช้การเล่นที่น่าสนุกสนาน และกินเวลาในการเล่นมาจูงใจเด็กๆ กัน
1. ขบวนรถไฟ และราง คือพลังดึงเด็ก
เราขอแนะนำรถไฟ ว่าคือตัวช่วยในเรื่องนี้ เราทุกคนรู้ว่าการใช้เวลาตอนบ่ายในการสร้างทางรถไฟนั้นช่างวิเศษ เพราะเด็กจะได้สัมผัสกับความงามของการสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างขึ้นมา
ที่จริง เด็กๆ ที่เล่นกับรถไฟต้องจัดพื้นที่สำหรับสร้างรางและบรรยากาศของรางรถไฟ เขาต้องวางแผนว่าแต่ละชิ้นควรเรียงจากไหนไปที่ไหน โดยรวมสะพาน อุโมงค์ ทางข้ามระดับ ต้นไม้ อาคาร ฯลฯ วางต่อเข้าด้วยกัน และปล่อยให้จินตนาการสร้างเส้นทางที่มีจุดหมายปลายทางไร้ที่สิ้นสุด
รถไฟใส่ถ่านมีเสียง มีไฟ วิ่งเองได้จะยิ่งดึงดูดใจเด็กๆ ได้อยู่หมัด ให้ลูกน้อยสังเกตสิ่งรอบตัวระหว่างทางกลับจากโรงเรียน ว่ามีอะไรอยู่รอบๆ เมืองบ้าง แล้วเขาจะจำมาใส่ไว้ในบรรยากาศทางรถไฟของเขา ทีนี้การขอให้ลูกละจากหน้าจอทีวี หรือมือถือ/แท็บเลตโดยชุดรถไฟก็จะทำได้ง่ายขึ้น ของเล่นนี่มันวิเศษจริงๆ!
ด้วยของเล่น อย่าง รถไฟ มีกล่องเก็บ Hape Railway Bucket-Builder-Set เด็กๆ จะได้สนุกสนานไปกับการสร้างเมืองให้ผู้โดยสาร และการบรรทุกสินค้าไปตามจุดต่างๆ และถ้าต้องการให้ละครเรื่องนี้เร้าใจยิ่งขึ้น สามารถช่วยเด็กๆ สร้างภูมิทัศน์ที่สวยงามด้วยการ DIY ใช้กระดาษ สีไม้ กรรไกร ฯลฯ เพิ่มเติมเป็นสิ่งต่างๆ ตามที่เขาจะนึกออก เปลี่ยนเวลาเล่นรถไฟให้เป็นกิจกรรมประดิษฐ์ได้อีก
การใช้กลยุทธ์นี้ในทุกวันหรือทุกครั้งที่เด็กๆ ต้องการเล่นอุปกรณ์แท็บเล็ต ช่วยให้เขาเปลี่ยนใจได้ง่าย นี่คือพลังของของเล่นคลาสสิกไงล่ะ!

2. เสน่ห์ของของเล่นดนตรี ที่มีไม่รู้จบ
ดนตรีสามารถช่วยคุณได้ในเรื่องที่เด็กๆ งอแงและหงุดหงิดเมื่อต้องปิดหน้าจอ การฟัง/เล่นดนตรีทำให้ผู้ใหญ่และเด็กอารมณ์ดีขึ้นได้ เพราะดนตรีจะไปลดระดับคอร์ติซอลตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดนั่นเอง
กลอง หรือเปียโนของเล่นจะดึงความสนใจของเด็กๆ จากหน้าจอได้ยังไงอ่ะ?

ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากดนตรีเป็นวิธีปลดปล่อยอารมณ์ นั่นจะทำให้สภาพจิตใจของเด็กสงบขึ้นจากการเล่นของเล่นดนตรี พวกเขาสามารถปลดปล่อยตัวเองจากความคับข้องใจของการอยู่ห่างจากเทคโนโลยี แล้วมุ่งเน้นไปที่ความสนุกสนานในการกดตัวโน๊ตแทน
นี่เป็นเพียง 2 ตัวอย่าง ของการใช้ช่วงเวลาเล่นที่สร้างสรรค์มาแทนที่เวลาหน้าจอ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเสริมกิจกรรมที่สร้างสรรค์อื่นๆ ยาวๆ ได้อีก จนทำให้ลดการที่ลูกติดหน้าจอ หรือลืมหน้าจอไปเลย
แล้วก็ ระหว่างที่ลูกเล่น หรือเราเล่นกับลูกก็ควรเก็บอุปกรณ์ไว้ให้ห่างด้วย เพื่อไม่ล่อใจเด็กๆ และฝึกให้เรามี Quality Time กับลูก และได้พักจากหน้าจอเช่นเดียวกัน

หากคุณกำลังมองหาของเล่นเสริมพัฒนาการชั้นเยี่ยมซักชิ้น ที่สามารถกลายเป็นกิจกรรมสุดสร้างสรรค์และสนุกสนาน ทั้งช่วยส่งเสริมทักษะทางร่างกาย สังคม และความรู้ความเข้าใจของลูก ‘Hape’ (ฮาเป้) คือตัวเลือกที่ดี เพราะเรามีของเล่นไม้มากมาย ที่ตอบโจทย์พัฒนาการของเด็กทุกช่วงวัย
ด้วยดีไซน์และวัสดุของที่มีความคงทนแข็งแรง เน้นเสริมสร้างพัฒนาการแก่เด็กๆ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ Hape ขึ้นเป็นแบรนด์ของเล่นไม้ระดับโลก และได้รับรางวัล Best Toys Award ติดต่อกันหลายปี การันตีได้จากมาตรฐาน ICTI, CCIB , ISO 14001 และ ISO 9001-2008v
ดังนั้นไม่ยากเลยที่ของเล่นไม้ฮาเป้จะช่วยเติมเต็มกิจกรรมต่างๆ นี้ที่ทำให้หนูๆ ห่างไกลจากหน้าจอ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการแบ่งปันช่วงเวลาดีๆ ร่วมกันในครอบครัว เพราะที่ใดมีความรัก ที่นั่นคือบ้านที่สมบูรณ์! กิจกรรมที่คุณกับลูกคืออะไรค้า? 😁
Hape Thailand
Love Play Learn
🌐: ดูสินค้าทั้งหมด https://www.abcthebaby.com/hape-brand-page
ติดตามข่าวสาร และโปรโมชั่นดีๆ FB : Hape Thailand