quadrilla-teach-kids-to-code

รางลูกแก้ว Quadrilla ของฮาเป้ ได้รับการยกย่องใน Wall Street Journal ว่าเป็นหนึ่งในของเล่นไม้ที่ช่วยสอน เด็กๆ ฝึกถอดรหัส (Coding)

พฤษภาคมปี 2016 บทความที่ชื่อว่า “How Wooden Toys Teach Kids to Code” เขียนโดย Michael Hsu บรรณาธิการด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยีของหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal

เลือกรางลูกแก้ว Quadrilla ของฮาเป้ เป็นของเล่นที่เน้นสาธิตวิธีให้เด็กๆ ใช้ตรรกะ และการแก้ปัญหาภายในโครงสร้างที่กำหนด และเหตุผลที่ทำไมมันถึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะสอนเด็กเกี่ยวกับวิธีเขียนโค้ดเบื้องต้น

Hsu ในฐานะที่มีรางลูกแก้วอยู่ที่บ้าน และเป็นทั้งผู้เขียนโค้ดเป็นเวลานาน ได้สังเกตขั้นตอน วิธีการทำงานของรางลุกแก้วนี้ในขณะที่ต่อราง Quadrilla อยู่กับลูกๆ :

“การสร้างด้วยระบบการวิ่งด้วยลูกแก้วของ Quadrilla เหมือนกับการเข้ารหัส โดยที่คุณต้องสร้างโครงสร้าง(ราง) หรือ “โปรแกรม” ที่ใช้งานได้ก่อน

“รางลูกแก้วที่ทำด้วยไม้ ไม่ใช่เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แต่กานใช้ระบบนี้สร้างโครงสร้างจลนศาสตร์ (สาขาหนึ่งของพลศาสตร์ ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง) กับลูกๆ ผมก็ตระหนักว่ามีหลายอย่างที่ต้องสอนเกี่ยวกับพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะศิลปะของการแก้จุดบกพร่อง (Debugging) ซึ่งน่าตื่นเต้นขึ้นไปอีกเมื่อมีลูกแก้วจำนวนมากมาเกี่ยวข้อง”

การผสมผสานระหว่างลูกแก้ว และรางวิ่ง ความเร็ว และการหมุน นี่คือแนวคิดตั้งต้นของ Quadrilla ที่ใช้วิธีให้ลูกแก้ววิ่งไหลได้ในระนาบแนวนอน แห่งแรกของโลก

ในปี 1999 Braun วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ชาวเยอรมัน กำลังพาลูกชายวัย 4 ขวบของเขาเดินผ่านตลาดคริสต์มาสแถวบ้าน ทันใดนั้นทั้งสองก็ต้องทึ่งกับของเล่นลูกแก้วดั้งเดิม แล้วก็ได้ความคิดว่า เขาควรจะลองสร้างมันขึ้นมาเอง ด้วยเครื่องมือที่มี 2 อย่างคือ เครื่องเจาะ และเลื่อยธรรมดา

เนื่องจากขาดเครื่องมือที่เหมาะสม เขาจึงตัดช่องตามความยาวของไม้ เพื่อทำเป็นทางวิ่งสำหรับลูกแก้วและช่องรูในบล็อก เพื่อเร่งความเร็วให้ลูกแก้ววิ่งในแนวนอนได้ และผลงานตัวอย่างชิ้นแรกนี้ เขาได้สร้างทางลูกแก้วแบบคลาสสิกโดยให้ลูกแก้ววิ่งจากซ้ายไปขวาและไหลลงมาได้ทีละชั้น

จากนั้นเขาค่อยๆ เจาะช่องรูเพิ่มอีกสองรูในแต่ละราง โดยช่องรูที่เพิ่มมานี้ ช่วยให้รางลูกแก้วสามารถวิ่งได้มากกว่า 1 ทาง เป็นของเล่นที่ไม่จำเป็นต้องฟิคแนวทางการไหล กำเนิดของ Quadrilla ที่มีชีวิตชีวาขึ้นมา

Quadrilla มาจากภาษาเยอรมัน 2 คำ คือ \”Quader\” และ \”Rille\” ที่หมายถึง \”ก้อนอิฐ\” กับ \”ช่องสล็อต\” นั่นก็คือส่วนประกอบของของเล่นชิ้นนี้นั่นเอง เด็กๆ ที่ต่อรางลูกแก้วจะได้ค้นพบความมหัศจรรย์ของโครงสร้าง Quadrilla ว่าลูกแก้วสามารถวิ่งได้ในรางแนวนอน 180 องศา และบล็อกสีแต่ละชิ้น และลูกแก้วหลายลูก ทั้งยังสามารถสร้างทางที่มีเสียงเป็นท่วงทำนองของตัวเองด้วยชุด Super Spirals ซึ่งมีคีย์ไซโลโฟนที่สามารถวางไว้ในชิ้นส่วนโครงสร้างต่างๆ ได้ตามต้องการด้วยนะ

เกี่ยวกับ The Wall Street Journal: เป็นหนังสือพิมพ์รายวันระหว่างประเทศภาษาอังกฤษ ซึ่งเน้นเกี่ยวกับธุรกิจในนิวยอร์กซิตี้ เป็นหนังสือพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยมียอดจำหน่ายประมาณ 2.4 ล้านเล่ม (รวมถึงการสมัครรับข้อมูลดิจิทัลเกือบ 900,000 ฉบับ)

ที่มาจาก https://www.hape.com/us/en/nd/quadrilla-featured-in-the-wall-street-journal-article-promotes-quadrilla-as-wooden-toys-teach-kids-to-code/196

ดังนั้นไม่ยากเลยที่ของเล่นไม้ฮาเป้จะช่วยเติมเต็มกิจกรรมต่างๆ นี้ที่ทำให้หนูๆ ห่างไกลจากหน้าจอ

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการแบ่งปันช่วงเวลาดีๆ ร่วมกันในครอบครัว เพราะที่ใดมีความรัก ที่นั่นคือบ้านที่สมบูรณ์! กิจกรรมที่คุณกับลูกคืออะไรค้า? 😁

Hape Thailand
Love Play Learn

🌐: ดูสินค้าทั้งหมด https://www.abcthebaby.com/hape-brand-page

ติดตามข่าวสาร และโปรโมชั่นดีๆ FB : Hape Thailand

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Shopping Cart
preloader